ช่วงอากาศร้อนๆแบบนี้ หลายคนคงอยากที่กินอะไรที่ เย็น เย็น เพื่อคลายร้อนกัน แต่เมนู ยอดฮิต ที่นิยมกัน คงไม่พ้น "น้ำแข็งไส" และ ไอศครีม กันแน่นอน ทั้งสองรายการนี้ถ้าใครได้ลองชิมแล้ว จะรู้สึกสดชื่นทันที
ที่กล่าวมาไม่ได้จะให้เกิดความอยากหรือวิ่งไปซื้อมากินกันเลยนะครับ เพราะจริงอล้วอยากให้รู้ที่มาที่ไป ของน้ำแข็งไส และ ไอศครีม กันว่ามีที่มาที่ไปอย่างไรณ
หลายคนสงสัยว่า คำว่า "น้ำแข็งไส" กับ "น้ำแข็งใส" เขียนแบบไหนถึงถูกต้อง
คำตอบคือ "น้ำแข็งไส"
ถ้าเปิดพจนานุกรม ฉบับราชบัณทิตยสถานดูแล้ว จะได้ว่า
น้ำแข็งไส น. น้ำแข็งที่ได้จากการไสก้อนน้ำแข็งไปบนเครื่องไส มีลักษณะเป็นเกล็ดฝอย
เครื่องไสก็จะเป็นลักษณะประมาณนี้นะครับ
"
ในการไสน้ำแข็งนั้นดันก้อนน้ำแข็งไปที่เป็นม้าไม้ตรง กลางมีใบมีดฝังจากข้างล่าง ให้คมอยู่ข้างบน เพื่อย่อยน้ำแข็ง ให้เป็นฝอย ตกลงมาด้านล่าง จึงเรียกว่า "น้ำแข็งไส"
มาถึงตรงนี้คงต้องร้อง อ่อ!! กันเลยทีเดียว
มาถึงไอศครีม กันบ้าง แต่ถ้าจะให้พูดถึงประวัติศาสตร์ไอศครีม ( ถึงขั้นเป็นประวัติศาสตร์เลยทีเดียว) คงร่ายยาวทีเดียว ตามชื่อหัวข้อที่พูดถึง "ไอศครีมวันอาทิตย์" คงงงกันมันคืออะไร จะไปกินวันอาทิตย์กัน คงไม่ใช่ จริงๆแล้วมันคือ "ไอศครีมซันเดย์ " นั่นเอง สรุปแล้วซันเดย์ ที่หลายคนเข้าใจ คือ Sunday ที่แปลว่าวันอาทิตย์ นั้นจริงๆ แล้วแต่ก่อนใช้จริงนะครับ เมื่อก่อนมีการผลิตไอศครีมโซดา แต่ห้ามขายในวันอาทิตย์ ในมลรัฐอิลลินอยส์ ภายหลังมีคนคิดค้นสูตรใหม่ขึ้นมาเป็น "ไอศครีมซันเดย์" (Ice cream Sunday) แต่ก็ถูกทางรัฐห้ามใช้ชื่อนี้อีก เพราะวันอาทิตย์เป็นวัน "แซบบาธ" (Sabbath) ซึ่งถือว่าเป็นวันสำคัญในการประกอบพิธีทางศาสนาของชาวคริสต์ จึงให้ใช้คำว่า Sundae แทน Sunday ไงละครับ
ก็คงพอเข้าใจถึงที่มาที่ไปกันแล้วนะครับ ทีนี้ก็ได้เวลาออกไปซื้อมาลิ้มลองกันแล้ว จะได้เรียกใช้กันถูกกันนะครับ...Let's Go!!
0 ความคิดเห็น