หายหรือถูกลืม : พยัญชนะไทยยังหายไปสองตัว


 ทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ทุกๆครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง อาจจะมีบางสิ่งที่เราทำหายหรือลืมมันไป จนลืมไปว่าสิ่งนั้นเคยมีอยู่นั่นเอง และเมื่อมีใครกล่าวถึงสิ่งนั้นขึ้นมา ทุกคนก็จะนึกได้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นความทรงจำที่ถูกเลือนลาง

ในบทความนี้ ทั้งหมดจะนำสิ่งที่เราลืมมันไป หรือบางคนไม่เคยรู้จักมันเลยก็ได้

ACT 1 : พยัญชนะไทยยังหายไปสองตัว

พยัญชนะไทย มีตั้ง ๔๔ ตัว แต่มี ๒ ตัวกลับไม่ได่ใช้

สมัยที่เราเรียนอนุบาลครูต้องเคยให้เราได้ท่อง ก-ฮ เชื่อว่าหลายคนตอนนั้นคงจำได้แม่น  แต่ถ้าปัจจุบันมีใครที่สามารถท่องได้ถูกครบทุกตัวและไม่สลับกันเลย คงเป็นจำนวนน้อยมากที่ท่องได้ เพราะว่าเราไม่ได้ท่องเป็นประจำนั่นเอง (ขนาดคนเขียนยังจำไม่ค่อยได้เลย ฮ่าๆ)


ที่กล่าวมานี้ไม่ได้ หมายถึงว่าเราลืมที่จะท่องกันนะ เพราะจริงๆแล้วแค่เราใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เท่านี้ก็สุดยอดแล้ว แต่ประเด็นจริงๆ อยากให้ทุกคนลองสังเกตดูดีดี มีบางตัวเราแทบ...จะไม่เคยเห็นใช้เลย

นั่นคือตัว และ นั่นเอง

ความจริงก็น่าสงสารสองตัวนี้นะ เวลาจะใช้ที่ไร มักจะมีตัวที่มาแย่งชิงตำแหน่งไปสะก่อน โดย เจ้า และเพราะขนาดคำว่า ขวด ต้องใช้ แต่กลับไปใช้ ข  ส่วนคำว่า คน ต้องใช้ ฅ แต่กลับไปใช้ ค 

อันนี้ยอมรับว่างงจริงๆ เป็นปริศนาในหัวอยู่ ตอนนี้ ทำไมถึงเป็นแบบนี้ไปได้

ผมจึงได้ออกไปค้นคว้าข้อมูล จนได้คำตอบมาว่า ทำไม ฃ และ ต จึงไม่ถูกใช้ ?



จริงแล้วเจ้า ฃ มีหลักฐานในศิลาจารึก หลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ว่าใช้อยู่ 11 คำ ได้แก่ ฃับ (ขับร้อง), ฃ๋า (ฆ่า, ในสมัยนั้น เครื่องหมายกากบาท ตรงกับไม้โทในการเขียนแบบปัจจุบัน), ฃาม (มะขาม), ฃาย (ขาย), เฃา (ภูเขา), เฃ๋า (เข้า, ข้าว), ฃึ๋น (ขึ้น), ฃอ (ตะขอ), ฃุน (พระเจ้าแผ่นดิน), ฃวา (ขวา), แฃวน (แขวน)

แต่พอด้านหลังศิลาจารึก กลับใช้กันสลับจนเกิดความสับสน เช่นคำว่า ขุน บ้าง ฃุน บ้าง พอมาสมัยอยุธยาก็เริ่มใช้น้อยลง จนมาสมัยรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 5  พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้ระบุคำที่เขียนด้วย ฃ ในหนังสือชื่อ นิติสารสาธก เล่ม 1 ได้แก่ ฃอ, ฃ้อความ, ฃัน, ฃาน, ฃาด, ฃายหน้า, ฃำ, เฃา, เฃ้า, ฃุน, ไฃ, โฃก, ฃอง, เฃียน, ฃยัน และฃลุม 

ถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ก็ยังมีใช้อยู่บ้าง แต่เริ่มน้อยลง



ถึงสมัยรัชกาลที่ 7 เมื่อมีปทานุกรมของกระทรวงธรรมการ พ.ศ. 2470 ก็มีการระบุไว้ว่า “ฃ เป็นพยัญชนะตัวที่สามของพยัญชนะไทย แต่บัดนี้ไม่มีที่ใช้” เป็นอันหมดวาระของ ฃ ลง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา 

ส่วน ฅ นี้เป็นอักษรของไทยดั้งเดิม ไม่ปรากฏในชุดอักษรภาษาอื่น ๆ (หมายความว่า ในชุดอักษรภาษาอื่นๆ ที่ลำดับอักษร ก ข ค ฆ ง แบบอักษรอินเดีย เช่น อักษรเทวนาครี อักษรขอม อักษรมอญ ฯลฯ ล้วนไม่มีตัวอักษร ฅ) 



ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493 จนถึงฉบับปรับปรุงแก้ไข พ.ศ.2542 ก็ได้ให้คำอธิบายตัวอักษร 2 ตัวคือ ฃ และ ฅ ว่า "เลิกใช้แล้ว " ทั้งที่ไม่เคยมีการประกาศเลิกใช้ แต่อย่างใด จนในวันที่  29 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ได้แก้ข้อความในพจนานุกรมฯ ใหม่เป็นคำว่า "ปัจจุบันไม่ปรากฏที่ใช้งาน" แทนคำว่า "เลิกใช้แล้ว" เพื่อป้องกันความสับสนด้วย


แต่หลายก็คงงงอีกว่า อ้าวอยู่ดีดีจะเลิกใช้สะงั้น ความจริงก็ไม่ได้เขียนยากอะไร ?



สาเหตุที่แท้จริงนั้นก็คือ "ในสมัยที่มีเครื่องพิมพ์ดีดยุคแรกๆ นั้นบนแป้นพิมพ์ดีดนั้น ไม่มีพยัญชนะ ฃ และ ฅ   เนื่องจากก้านอักษรมีไม่พอกับจำนวนสระพยัญชนะและวรรณยุกต์ในภาษาไทย จึงต้องตัดคำบหรือเครื่องหมายตัวออกไปนั่นเอง

ซึ่งในปัจจุบันบนแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ก็ได้มีการนำตัวอัษร ฃ และ ฅ นำกลับมาแล้วครับ

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น